วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อาหารไทย

Thai Food




อาหารไทย เป็นอาหารประจำของชนชาติไทยที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย




จุดกำเนิดอาหารไทย





         อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทยและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัย สุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาของอาจารย์กอบแก้ว  นาจพินิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เรื่องความเป็นมาชองอาหารไทยยุคต่างๆ สรุปได้ดังนี้

1. สมัยสุโขทัย

          อาหารไทยสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึกและวรรณคดี สำคัญ คือ ไตรภุมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่ามีข้าวเป็นอาหารหลักโดยกินร่วมกับกับช้าว ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้างการปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า  แกง  ในไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่าข้าวหม้อแกงหม้อ  ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึกคือ  แฟง  แตง  น้ำเต้า  ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้านเช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้ง ส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน

2. สมัยอยุธยา

         สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทย  ได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตกและตะวันออกจากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศพบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่ายยังคงมีปลาเป็นหลัก  มีต้ม  แกงและคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าวและกทิมากกว่าไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มากขึ้น คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้งหรือทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม  เช่นน้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บกโดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อเป็นอาหารได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆที่ใช้เครื่องเทศเช่นแกงที่ใส่หัวหอม  กระเทียม สมุนไพรหวานและเครื่องเทศแรงๆที่คาดว่านำมาใช้ในการประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อปลาหลักฐานจาการบันทึกของบาทหลวงชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติต่าง ๆเริ่มเข้ามามากขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์  เช่นญี่ปุ่นโปรตุเกส  เหล้าองุ่นจากสเปนเปอรฺเวียและฝรั่งเศส  สำหรับอิทธิพลของอาหารจีนนั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้นในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายที่ไทยตัดสัมพันธุ์กับชาติตะวันตกดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารในสมัยอยุธยาตอนปลายได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติโดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆและจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วนใหญ่แพร่หลายอยู่ในราชสำนักต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชนและกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไปในที่สุด

3. สมัยธนบุรี

         จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่ากก์ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ 2ของไทยของม่านผู้หญิงเปลี่ยน  ภาสกรวงษ์ พบความต่อเนื่องของวัฒนธรรมไทยจากกรุงสุโขทัยถึงสมัยอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรีและยังเชื่อว่าเส้นทางอาหารไทยจะเชื่อมจากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตนโกสินทร์โดยผ่านทางหน้าที่ราฃการและสังคมเครือญาติและอาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาแต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือาหารประจำชาติจีน

4. สมัยรัตนโกสินทร์

          การศึกษาความเป็นมาของอาหารไทยยุครัตนโกสินทร์นี้ได้จำแนกตามยุคสมัยที่นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้คือ ยุคที่ 1 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1  จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3  และยุคที่ 2 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน

5. สมัยรัตนโกสินทร์ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2394)
         อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยกรุงธนบุรี แต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอัก  1  ประเภทคือนอกจากมีอาหารคาว อาหารหวานแล้วยังมีอาหารว่างเพิ่มขึ้นในช่วงนี้อาหารไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของประเทศจีนมากขึ้นและมีการปรับเปลี่ยนเป็นอาหารไทยในที่สุด จากจดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทร์ทรเทวี ที่กล่าวถึงเครื่องตั้งสำรับคาวหวานของพระสงฆ์ในงานสมโภชน์พระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร (พระแก้วมรกต)ได้แสดงให้เห็นว่ารายการอาหารนอกจากจะมีอาหารไทย  เช่น  ผัก  น้ำพริก  ปลาแห้ง  หน่อไม้ผัด  แล้วยังมีอาหารที
ปรุงด้วยเครื่องเทศแบบอิสลามและมีอาหารจีนโดยสังเกตจากการใช้หมูเป็นส่วนประกอบที่สำคัญเนื่องจากหมูเป็นอาหารที่คนไทยไม่นิยมแต่คนจีนนิยม  บทพระราชนิพนธ์กาพแห่เรือชมเครื่องคาวหวานของพระบาทสมเด็จพระ
พุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงกล่าวถึงอาหารคาวและอาหารหวานหลายชนิดซึ่งได้สะท้อนภาพของอาหารไทยในราชสำนักอย่างชัดเจนที่สุดซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะขอวอาหารไทยในราชสำนักที่มีการปรุงกลิ่นและรสอย่างประณีตและให้ความสำคัญของรสชาติอาหารไทยมากเป็นพิเศษและถือว่าเป็นยุคสมัยมีศิลปในการประกอบอาหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดทั้งรส  กลิ่น  สี และการตกแต่งให้สวยงามรวมทั้งมีการพัฒนาอาหารนานาชาติให้เป็นอาหารไทยจากบทพระราชนิพนธ์ทำให้ได้รายละเอียดที่เกี่ยวกับการแบ่งประเภทของอาหารคาวหรือกับข้าวและอาหารว่างคาวได้แก่  หมูแหนม  ล่าเตียง  หรุ่ม  รังนก  ส่วนอาหารคาวได้แก่ แกงชนิดต่าง ๆ เครื่องจิ้ม ยำต่าง ๆ  ส่วนอาหารหวานส่วนใหญ่ทำด้วยแป้งและไข่เป็นส่วนใหญ่มีขนมที่มีลักาณะอบกรอบ เช่น  ขนมผิง  ขนมลำเจียก  และมีขนมที่มีน้ำหวาน
และกะทิเจืออยู่ด้วย ได้แก่  ซ่าหริ่ม  บัวลอย  เป็นต้น
        นอกจากนี้วรรณคดีไทยเรื่อง  ขุนช้างขุนแผน  ซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีที่สะท้อน ๔ ชีวิตของคนในยุคนั้นอย่างมากรวมทั้งเรื่องอาหารการกินของชาวบ้าน พบว่ามีความนิยมขนมจีนน้ำยา และมีการกินช้าวเป็นอาหารหลักร่วมกับกับข้ประเภทต่าง ๆ ได้แก่  แกง  ต้ม  ยำและคั่ว อาหารมีความหลากหลายมากชึ้นทั้งชนิดของอาหารคาวและอาหารหวาน

6. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ยุค 2 (พ.ศ. 2394 – ปัจจุบัน)
          ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมากและมีการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกของประเทศไทยดังนั้น ตำรับอาหารการกินของไทยเริ่มมีการบันทึกมากขึ้นโดยเฉพาะในรัชกาลที่  5 เช่นในบทพระนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน  จดหมายเหตุ  เสด็จประพาสต้น  และยังมีบันทึกต่าง ๆ โดยผ่านการบอกเล่าสืบทอดทางเครือญาติแลบันทึกที่เป็นทางการอื่นๆซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะขออาหารไทย








ประเภทของอาหารไทย


1. อาหารประเภทผัด 


เป็นวิธีปรุงที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีนแม้ไม่ได้วิธีไทยดั้งเดิมแต่ได้เข้ามา แพร่หลายในเมืองไทยนานกว่าร้อยปี และมีการดัดแปลงผสมผสานจนเข้ากับวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างดี อาทิ เช่น ผัดเผ็ด ผัดพริกขิง เป็นต้น

2. อาหารประเภทแกง และต้ม 


อาจจำแนกย่อยได้ตามจำนวนของเครื่องเทศที่ใช้ เช่น แกงเลียง จัดว่าเป็นแกงที่มีเครื่องแกงน้อยที่สุด แต่เครื่องแกงนั้นเป็นส่วนประกอบหลักพื้นฐานของเครื่องแกงกลุ่มแกงส้ม แกงป่า แกงเผ็ด จนถึงแกงที่ถือว่ามีส่วนประกอบในเครื่องแกงมากที่สุด คือ แกงกะหรี่ แกงมัสมั่นเป็นต้น หรืออาจจำแนกได้จากการใช้หรือไม่ใช้กะทิในการปรุงอาหาร หรือการจำแนกตามรสชาติของอาหาร เช่น แกงเผ็ด แกงส้ม ต้มจืด หรือแม้แต่การแบ่งตามสีของอาหารเช่นแกงแดง แกงเขียวหวาน เป็นต้น


3. อาหารประเภทยำ และพล่า 


สามารถจำแนกย่อยได้ต่าง ๆ กัน เช่น การจำแนกตามวิธีการเตรียมอาหาร เช่น ถ้าทำเนื้อสัตว์ให้สุกจะจัดเป็นพวกยำ ถ้าดิบ ๆ สุก ๆ จะเรียกว่า พล่า โดยมีการใช้เครื่องเทศที่แตกต่างกันบ้าง เพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ การจำแนกตามลักษณะของการปรุง เช่น ยำใส่กะทิ หรือมะพร้าวคั่ว ได้แก่ ยำถั่วพู ยำทวาย ยำหัวปลี ยำส้มโอ และยำไม่ใส่กะทิ ได้แก่ ยำใหญ่ ยำวุ้นเส้น ยำปลาดุกฟู


4. อาหารประเภทเครื่องจิ้ม 


จำแนกออกเป็นน้ำพริก และหลน นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาถึงการใช้พืช ผัก มาเป็นของแนม โดยน้ำพริกแต่ละชนิดจะมีการเตรียมผักที่ต่างกัน มีทั้งผักดิบ และผักต้ม ผักต้มลวกราดกะทิ ผักผัดน้ำมัน และผักทอด ทั้งชุบแป้ง และชุบไข่ทอด เช่น การรับประทานผักต้มกะทิ ผักชุบไข่ทอดกับน้ำพริกกะปิ เป็นต้น

5. อาหารประเภทเครื่องเคียง


เป็นอาหารที่ช่วยเสริมให้อาหารในสำรับอร่อย หรือเด่นขึ้น ได้แก่ ห่อหมก ทอดมัน หมี่กรอบ ที่รับประทานร่วมกับแกงมัสมั่น ปลาดุกย่าง ปลาดุกฟู รับประทานร่วมกับนํ้าพริก เนื้อเค็มทอด รับประทานร่วมกับแกงเผ็ด เป็นต้น


ตัวอย่างการทำอาหารไทย

แกงเขียวหวาน